ฑ์
มหาชาติคำหลวง ก็คือเรื่องเวสสันดรชาดก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแปลแต่งที่เมืองพิษณุโลก เมื่อพ.ศ. 2025 ดังปรากฏหลักฐานใน พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า " ศักราช 844 ขานศก ท่านให้เล่นการมหรสพ 15 วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์พระมหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์ " แต่ละกัณฑ์ กวีจะแต่งด้วยฉันทลักษณ์ที่ต่างกัน เช่น ร่ายโบราณ ฉันท์ โคลง เป็นต้น และการแต่งเรียกว่าแปลยกศัพท์ กล่าวคือขึ้นต้นวรรคด้วยภาษาบาลีแล้วแปลเป็นภาษาไทยสลับกันไปทุกวรรค เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็โปรดให้นำมา อ่านตรวจทานแก้ไขและคิดทำนองสวดอย่างวิจิตรพิสดาร มหาชาติคำหลวงนี้ไม่ใช่สำหรับพระเทศน์แต่ให้เจ้าหน้าที่ กรมธรรมการ คือ ขุนทินบรรณาการและขุนธารกำนัล พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2 คนใช้สวดถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงฟังทุกวันพระในระหว่างเข้าพรรษาในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทำนองสวดของแต่ละกัณฑ์ มีเม็ดพรายในการสวดก็แตกต่างกันไปทั้งหลบเสียง เอื้อนเสียง หลังจากเสียกรุงฯ เมื่อพ.ศ. 2310 ต้นฉบับ มหาชาติคำหลวงหายไป 6 กัณฑ์ คือ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมกวีร่วมกัน แต่งซ่อมกัณฑ์ที่ยังขาดให้ครบทั้ง 13 กัณ
อานิสงส์ ๑๓ กัณฑ์
- ผู้ไดบูชากัณฑ์ทศพร (กัณฑ์ที่ ๑) อานิสงส์ท่านบอกว่าในชาติหน้าที่ไปบังเกิดจะประกอบด้วยรูปสมบัติมีสิริโฉมและรูปร่างที่งดงามอันงดงามกว่าชนทั้งหลาย จะเจรจาปราศัยก็มีน้ำเสียงไพเราะเสนาะโสต มีกลิ่นกายหอมฟุ้งไปไกล แม้จะได้สามีภรรยาบุตรธิดา ก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงาม
- ผู้บูชากัณฑ์หิมพานต์ (กัณฑ์ที่๒) อานิสงส์ท่านบอกว่าประกอบด้วยความสุขกายสบายใจทุกอิริยาบถ ครั้นตายแล้วจะได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมาย เสวยสุขอยูในปราสาทแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ เสวยทิพย์สมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์
- ผู้บูชากัณฑ์ทานกัณฑ์ (กัณฑ์ ที่๓) อานิสงส์ท่านบอกว่า จะได้ทรัพย์สมบัติดังปรารถนาบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทองนานัปประการ
- ผู้บุชากัณฑ์วนประเวสน์ (กัณฑ์ ที่ ๔) อานิสงส์ท่านบอกว่าแม้จะบังเกิดในปรภพใดๆ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ มีที่ดิน บ้านเรือนใหญ่โตมากมาย มีสวนไร่นามากมาย จะมีอุทยานอันดาดาษด้วยต้นไม้ดอกไม้ของหอม และจะมีสระโบกขรณีกว้างใหญ่ มีน้ำใสสะอาดบริบูรณ์ อันเต็มไปด้วยปทุมชาติ
- ผู้บูชากัณฑ์ชูชก (กัณฑ์ ที่๕) อานิสงส์ท่านบอกว่าเกิดในชาติหน้าจะมีอายุยืนจะไปในที่ใดๆ ก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน ปราศจากโรคาพาธทั้งหลาย ไม่เจ็บป่วยเป็นโรคภัยใดๆ และรอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีพละกำลังมาก จะมีพลังต้านทานโรคหลายอย่าง และสิ่งใดที่หายไปก็จะได้กลับคืนดังเก่า
- ผู้บูชากัณฑ์จุลพน (กัณฑ์ที่ ๖) อานิสงส์ท่านบอกว่าจะได้รับการคุ้มครองจากผู้หลักผู้ใหญ่เกิดชาติไหนๆ ก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นหัวหน้าคนเป็นนายคน เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยเดชศักดานุภาพ เฟื่องฟุ้งไปทั่ว
- ผู้บูชากัณฑ์มหาพน (กัณฑ์ ที่ ๗) อานิสงส์ท่านบอกว่าจะสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา เป็นผู้ทรงปรีชา เฉลียวฉลาด จะเป็นผู้ที่ไม่โง่เขลา เป็นคนมีปัญญา สามารถปราบอริศัตรูให้ย่อยยับไปได้
- ผู้บูชากัณฑ์กุมาร (กัณฑ์ที่๘) อานิสงส์ท่านบอกว่าจะได้บรรลุเป็นพระอริยะบุคคล พร้อมด้วยคุณวิเศษทั้งปวง ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้ ตลอดจนนิพพานสมบัติ อันตัดเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง หลุดพ้นจากกองกิเลสและวัฏฏสงสาร
- ผู้บูชากัณฑ์มัทรี (กัณฑ์ ที่ ๙) อานิสงส์ท่านบอกว่า ผู้นั้นจะได้คู่ครองที่ใจปรารถนาและครอบครัวที่เป็นไปตามต้องการ ถ้าเป็นสตรี จะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ ถ้าเป็นบุรุษจะได้ภริยาเป็นที่ต้องประสงค์ จะได้บุตรหญิงชายที่ประเสริฐ เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย มีความประพฤติกิริยาเรียบร้อยดีทุกประการ
- ผู้บูชากัณฑ์มหาราช (กัณฑ์ที่๑๐) อานิสงส์ท่านบอกว่าเกิดชาติหน้าจะเกิดในตระกูลสูงศักดิ์เช่นตระกูลขัตติยมหาศาลในสมัยที่กษัตริย์สูงศักดิ์ หรือตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในยุคที่ตระกูลพราหมณ์สูงส่งยิ่งนัก เป็นที่นับหน้าถือตาแห่งคนทั้งปวง
- ผู้บูชากัณฑ์สกบรรพ (กัณฑ์ที่ ๑๑) อานิสงส์ท่านบอกว่า มีบริวารมากมายทั้ง ทาส ทาสี และสัตว์ สองเท้า สี่เท้า เช่น โค กระบือ ช้างม้า รถ ยานพาหนะนับประมาณมิได้
- ผู้บูชากัณฑ์ ฉกษัตริย์ (กัณฑ์ ที่๑๒) อานิสงส์ท่านบอกว่า จะบริบูรณ์ด้วยวงศาคณาญาติบุตร ธิดา สามี หรือภรรยา บิดา มารดา เป็นต้น อยู่พร้อมหน้ากันโดยความผาสุก จะได้อยู่พร้อมหน้ากันอย่างมีความสุข จะทำกิจกรรมการงานใดก็ประสบความสำเร็จ จะทำการใดๆ ก็พร้อมเพรียงกันยังการงานนั้นๆให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
- ผู้บูชากัณฑ์นครกัณฑ์ (กัณฑ์ ที่๑๓) อานิสงส์ท่านบอกว่า จะเกิดเป็นมนุษย์ทันยุคศาสนาพระศรีอาริยเมตตรัยจะได้ถือปฏิสนธิในสมัยที่พระศรีอริยเมตตรัยมาอุบัติและจะได้พบกับพระองค์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์
เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
เรื่องย่อ
นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นายประเสริฐ สุวัฒน์ ที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนคร ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถึง ๗ คน ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน
ครั้นประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดี เพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับ หลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก
ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต